หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4

                                 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

                           วันที่ 25 สิงหาคม 2543

เนื้อหาที่เรียน
 
  คุณลักษณะตามวัยของเด็ก3 - 5ขวบ ที่กำหนดไว้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย2560 
พัฒนาด้านสติปัญญา
3 ขวบ สามารถสำรวจสิ่งต่างต่างๆบอกชื่อตัวเองได้สนทนาตอบโต้เป็นประโยคสั้น ขอความช่วยเหลือ 
4 ขวบ จำแนกประสาทสัมผัสทั้ง5 บอกชื่อนามสกุล พยายามแก้ปัญหาด้วยตัวเอง สามารตอบเป็นประโยคได้อย่างต่อเนื่อง
5 ขวบ บอกความแตกต่าง สี กลิ่น รสชาติจัดหมวดหมู่สิ่งของ บอกชื่อตัวเองได้ 

💣 ขั้นอนุรักษ์เด็กตอบได้ด้วยเหตุผล 💣

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย

ความเป็นไปที่เป็นไปตามปกติของเด็ก คือ ธรรมชาติของเด็กที่แสดงออกมาจากพัฒนาการ

    👌มีการจัดกิจกรรมร้องเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้เพื่อนในห้องช่วยกันแต่งเพลงจากทำนองของอาจารย์เปลี่ยนคำตามใจชอบตามกลุ่มและให้ช่วยๆกันร้อง
 
เช่น บ้านฉันมีแก้วน้ำ  4 ใบเพื่อนให้อีก 3 ใบ นะเอ่อ มารวมกันนับดีๆซิเธอ รวมกันได้  7 ใบ และให้ลดจำนวนแก้วลง ต่อ บ้านฉันมีแก้วน้ำ  7 ใบ หายไปอีก 3 นะเอ่อ ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ ดูสิเอ่อ เหลือแก้วน้ำ 4 ใบ


                                                   คลิปเพลงแม่ไก่ กับนกกระจิ๊บ

 คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

💙Spread = การแผ่ขยาย

💛Discrimination   =  การเลือกปฎิบัติ

💗Knowledge born from memory   = ความรู้เกิดจากความจำ

💚Classification of things   =  การจำแนกประเภทของสิ่งต่างๆ

💜Trial and error   =  ลองผิดลองถูก


ประเมินอาจารย์  เนื้อหาเจาะลึกมากขึ้น สอนเข้าใจง่ายวนซ้ำๆหลายรอบ

ประเมินเพื่อน ตั้งใจเรียนมาเรียนตรงต่อเวลา อาจจะมาช้าบ้างเพราะรถติด 

ประเมินตัวเอง พยายามทบทวนบทเรียนเนื้อหาที่อาจารย์สอนไปในแต่ละครั้ง





วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3

                            บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3

                   วันอังคาร ที่ 18 สิงหาคม 2563

                         เวลา 8:30  - 12:30 น

เนื้อหาที่เรียน

  💟อาจารย์ให้ทำ mind mapping 

เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยจะเรียนอะไรบ้างวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เรียนอย่างไร


                ➤mind mapping การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  💬 อาจารย์ได้มีการตั้งคำถามว่า วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กปฐมวัยหรือไม่?
    ✋อาจารย์ได้บอกว่าจะเป็นหรือไม่เป็นยาขมสำหรับเด็กนั้นขึ้นอยู่กับครูว่าจัดกิจกรรมที่สอดคล้อง และเหมาะสมกับวัยให้กับเด็กๆหรือไม่

  วิทยาศาสตร์คืออะไร  
คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง

- ความพยายามเช่นนี้ติดตัวของมนุษย์มาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต และคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ

- วิทยาศาสตร์สามารถเชื่อมโยงกับ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ได้ แต่สำหรับเด็กวิทยาศาสตร์ คือ สิ่งรอบๆตัว

 💦 เด็กมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร 💦

   การสัมผัส  การสังเกต การฟัง การดมกลิ่น การรับรู้รสชาติ กายสัมผัส

💚คำศัพท์ภาษาอังกฤษ💚

Comments        = ความคิดเห็น       Absorb  = ซึมซับรับรู้

Phenomenon    = ปรกฏการณ์        Senses  = ความรู้สึก

Surroundings   = สิ่งรอบตัว            Behavior = พฤติกรรม

Screening         = คัดกรอง             Phenomenon = ปรากฏการณ์


ประเมินอาจารย์  วันนี้สอนเนื้อหาเจาะลึกรายวิชามากขึ้น

ประเมินเพื่อน  ตั้งใจฟังอาจารย์เข้าเรียนตรงเวลามากขึ้น ตอบคำถามได้บางคน

ประเมินตนเอง ให้ความร่วมมือในการมาเรียนตรงเวลาทุกครั้ง





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2

                               บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2

                     วันอังคาร ที่11 สิงหาคม 2563

                          เวลา 8:30  - 12:30 น

เนื้อหาที่เรียน

   💜วันนี้อ.ไม่ได้เข้าสอนแต่ให้เข้าห้องเรียนเพื่อรายงานตัวส่งรูปสมาชิกกลุ่มที่ตั้งไว้ลงเนื่องจากอ.จ๋าติดธุระที่มหาลัยเกษตร ได้สั่งงานดังนี้

1.หาบทความวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

2.หาวิจัยวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

3.หาตัวอย่างการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

(เนื้อหาไม่ซ้ำกับเพื่อน)

ทำการสรุปของแต่ละงานทั้งวิจัย บทความ ตัวอย่างการสอนลงในบล็อก เนื้อหามีดังนี้1.ชื่อ2.อ้างอิงที่มา3.ใคร  ทำอะไร ที่ไหน  เมื่อไหร่  อย่างไร 4.ผลที่ได้5. ดีอย่างไร​ 

ประโยชน์ที่ได้

💛ได้ทำการศึกษาบทความทั้งวิจัยและการสอนมากขึ้นทำให้เรารู้ได้ว่าวิชานี้เริ่มสอนอะไรบ้างสอนแบบไหนแล้วเราเอาไปปรับใช้ในการสอนอนาคตได้อีกด้วย





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่1

                               บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่1

                  วัน อังคาร ที่ 4 สิงหาคม 2563

                          เวลา 8:30  - 12:30 น

เนื้อหาที่เรียน

🎉เปิดเทอมครั้งแรกของรายวิชาการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์​และคณิตศาสตร์​ของเด็กปฐมวัย อ.จ๋าให้เราคิดดูว่ารายวิชาการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไร วิทยาศาสตร์เรียนอะไรบ้าง คณิตศาสตร์เรียนเนื้อหาแบบไหนบ้าง ให้เราทำเป็นมายแมพออกมา หลังจากนั้นให้จับกลุ่ม5คนเพื่อสร้างกลุ่มเวลาส่งงานตั้งชื่อกลุ่มถ่ายรูปกลุ่มและน้ำมายแมพของแต่ละคนลงไปในกลุ่มและให้ทำการสร้างบล็อกเกอร์​เหมือนที่เคยทำกับอ.เบียร์เมื่อเทอมที่แล้ว ให้ทำปฏิทินกับเวลาที่ขึ้นในบล็อกและใส่ลิงค์บล็อคของเพื่อนทุกคนในบล็อคของเรา

ประโยชน์

💚ได้ลองคิดดูก่อนว่ารายวิชาที่เราจะเรียนในความคิดของเราเรียนแบบไหน

 💗คำศัพท์ภาษาอังกฤษ💗

         1. Research = วิจัย
2. Science = วิทยาศาสตร์
         3. Mathematics    =     คณิตศาสตร์
         4. Learning           =     การเรียนรู้

         5. Skill                   =     ทักษะ


ประเมินอาจารย์  ทำข้อตกลงรายวิชา

ประเมินเพื่อน ตั้งใจเรียน มีการจดบันทึก

ประเมินตนเอง ตั้งใจฟังอาจารย์สอน  จดบันทึกเนื้อหาที่ควรรู้




ตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์

                                                ตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์


             💦ครูนำวงล้อนับเลข  โดยครูผู้สอนเตรียมความพร้อมผู้เรียนโดยการร้องเพลงนำสู่บทเรียน ครูสอนให้เด็กๆนับเลขโดยเริ่มจาก 1 ถึง 10 หลังจากนั้นครูหมุนวงล้อทีละอันช้าๆ พร้อมพาเด็ก นับจำนวนในวงล้อเพื่อความเข้าใจ ครูให้เด็กเล่นเกมโดยการใช้คำถาม เด็กเพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่นนกฮูกมีกี่ตัว องุ่นมีกี่พวง เมย์ไอติมมากกว่าลูกแพรกี่ลูก พร้อมให้เด็กนับและตอบคำถามเพื่อประเมินความเข้าใจของเด็ก ครูให้เด็กออกมาหมุนวงล้อด้วยตนเอง ตามคำสั่ง ของครู เช่นให้หมุนไปตรงที่พวงองุ่น 7 พร้อมแบบการสรุปความเข้าใจ ให้กับเด็กในเรื่องของตัวเลข

💭สรุปได้ว่า

  ใช้เป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาในเรื่องของคณิต เด็กๆรู้จักการลงมือปฏิบัติได้เรียนรู้จากการที่ใช้สื่อการสอนที่เป็นรูปธรรม ส่งผลให้เด็กมีทักษะกระบวนการทางความคิดแล้วพัฒนาความสามารถทางด้านคณิต เด็กรู้จักการนับเลขอย่างมีความหมายคณิตอันดับแรกที่เด็กรู้จักคือการนับเช่นกันนับตามลำดับตั้งแต่ 1 ถึง 10 หรือมากกว่านั้น ถ้าไม่ติดรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวันโดยมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย ให้เด็กรู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข

     อ้างอิง  https://www.youtube.com/watch?v=uunuIhSPLis&app=desktop








สรุปตัวอย่างการสอนวิทยาศาสตร์

                            สรุปตัวอย่างการสอนวิทยาศาสตร์


                        🌋   เรื่อง การทดลองวิทยาศาสตร์ ภูเขาไฟระเบิด🌋 อนุบาล 3

  ครูให้เด็กดูคลิปการทำการทดลอง ภูเขาไฟ 🌋เปิดให้เด็กๆดู หลังจาก นั้นเด็กๆดูจนจบแล้ว คุณครูก็อธิบายเพิ่มเติม พร้อมทำการทดลองให้ดู แนะนำส่วนประกอบต่างๆ อันนี้คืออะไรเรียกว่าอะไร มีน้ำยาล้างจาน น้ำส้มสายชู ผงซักฟอก และสีผสมอาหาร เบคโซดา หลังจากทดลองให้ดูเสร็จแล้ว คุณครูเปิดภาพวีดีโอภูเขาไฟของจริง ให้ด็กๆดูเวลาปะทุภูเขาไฟจะมีลาวาออกมา หลังจากดูเสร็จ ให้เด็กๆส่งตัวแทนออกมาลองทำการทดลองใส่ส่วนผสมต่างๆ 

สรุปได้ว่า

   การทำการทดลองครั้งนี้ทำให้เด็กได้ลองลงมือทำใส่ส่วนผสม รู้จักการระเบิดของภูเขาไฟจากการทดลองในห้องเรียนไปสู่ภาพของจริง ที่เด็กไม่สามารถเข้าไปดูได้ด้วยตนเองหรอสัมผัสของจริง


   อ้างอิง    https://www.youtube.com/watch?v=o6D8926eCIs&t=1s






      

สรุปวิจัยคณิตศาสตร์

                                       สรุปวิจัยคณิตศาสตร์

                                               เป้าหมาย - การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ของ ...


           เรื่อง การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยผ่านการเล่นโดยใช้ ชุดกิจกรรม "คณิตคิดส์"

       วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เมื่อได้รับการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์โดยใช้ชุดกิจกรรม "คณิตศาสตร์"

2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เมื่อได้รับการส่งเสริมทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรม

3.เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยที่จะพัฒนาทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย

ขอบเขตการวิจัย

1.รู้จักตัวเลข

2.การรู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข

3.รูปทรง

4.การจำแนกประเภท

5.การเรียงลำดับ

เป้าหมายคือเด็กปฐมวัยชาย หญฺิงอายุ 3ปี ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกระต่ายเต้น สังกัดเทศบาลตำบลท่าไม้ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน39 คน ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2561 ที่ยังไม่มีทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ โดนการสังเกตพฤติกรรมและการประเมิน

ระยะในการทดลอง

ระหว่างเดือนธันวาคม 2561 ถึง เดือนกุมภาพันธ์2562 โดยทดลองชุดกิจกรรมวันละกิจกรรม จำนวน 5วัน/สัปดาห์ จำนวนทั้งสิ้น 25วัน วันละ20นาที

ประโยชน์

1.เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เมื่อได้รับการส่งเสริมโดยใช้ชุดกิจกรรม

2.เพื่อนำข้อมูลที่ได้ก่อนและหลัง เมื่อได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ชุดสื่อนำไปพัฒนาสื่อการสอน

3.เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยที่จะพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ทักษะทางคณิตศาสตร์จำเป็นต่อเด็กปฐมวัย 7ทักษะ

1.ทักษะการสังเกต การใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้

2.ทักษะการจำแนกประเภท สามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของ

3.ทักษะการเปรียบเทียบ  

4.ทักษะการจัดอันดับ

5.ทักษะการวัด

6.ทักษะการนับ

7.ทักษะเกี่ยวกับรูปทรงและขนาด



อ้างอิง https://wbscport.dusit.ac.th/artefact/file/download.php?file=440930&view=220115

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์

                                      สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์

                                                 Anchalee Pimsorn (anchaleepimsorn) ใน Pinterest

เรื่อง  การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐวัยโดยการจัดประสบการณ์ตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ 


    💢การสอนแบบมอนเตสซอรี่ คือ การเรียนรู้ของเด็กเกิดจากการรูปธรรม การสัมผัส การสังเกต การได้หยิบจับและทดลองด้วยตนเอง

 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพิ้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวกาของเขตการวิจัยรสอนแบบมอนเตสซอรี่
2.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่

1.ขอบเขตประชากร เด็ฏปฐมวัยที่อายุระหว่าง 5-6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ ชั้นอนุบาล2 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2557 โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 1 จำนวน 6 ห้อง มีนักเรียน จำนวน 144 คน
2.ขอบตัวแปร
ตัวแปรต้น การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ตามแนวการสอนมอนเตสซอรี่
ตัวแปรตาม
   1.)ทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ 3 ด้าน ด้านการสังเกต ด้านการจำแนกประเภท ด้านการสื่อความหมาย
   2.)ความพึงพอใจ ต่อการจัดกิจกรรม
   3.) ขอบเขตเวลา ระยะเวลาที่ใช้การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการช่วงพฤศจิกายน 2557 - ธันวาคม 2557

💬สรุปได้ว่า
   ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์คือการแสวงหาความรู้โดนผ่านการปฎิบัติลงมือทำ ฝึกฝนกระบวนการทางความคิดไปสู่ทักษาพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยทักษะต่างๆ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท การวัด ทักษะการลงความคิดเห็น ทักษะวิทยาศาสตร์เป็นทักษะสำคัญในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการที่ใช้การคิดเข้ามาร่วมด้วยและสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจเป็นกระบวนการทักษะสติปัญญา


อ้างอิง 

สรุปบทความวิทยาศาสตร์

                                สรุปบทความวิทยาศาสตร์

 

     👉     เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ? เด็กปฐมวัยไขคำตอบในวันวิทยาศาสตร์น้อย 2556

  โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เป็นโครงการที่พัฒนากิจกรรมสำหรับเด็กระดับปฐมวัย 
ในด้านกระบวนการคิดสร้างพื้นฐานความพร้อมในการพัฒนาต่อยอดไปเป็นนักวิทยาศาสตร์ใน
อนาคต ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของ สสวท. ดังนั้น สสวท. จึงได้เข้าร่วมโครงการนี้ภายใต้
ความร่วมมือกับมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักงานคณะกรรม
การการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) มหาวิทยาลัย และองค์กรเอกชนต่าง ๆ 
โดยมีโรงเรียนระดับปฐมวัยที่ได้ใช้แนวทางของโครงการเกินกว่าครึ่งหนึ่งของโรงเรียนทั้งหมด
ที่จัดการศึกษาปฐมวัยทั่วประเทศ
 ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการ สสวท. กล่าวกิจกรรม   “โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ?”
เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้ใช้ทรัพยากรดิน น้ำ อากาศและพลังงาน จึงมุ่งหวังให้เด็ก ๆ ตระหนักถึงการ
ใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยมองเห็นประโยชน์ของทรัยาการเหล่านี้จากการทำกิจกรรม
 มี 6 กิจกรรม ประกอบด้วย

กิจกรรมหวานเย็นชื่นใจ ความลับของดิน ถึงร้อนก็อร่อยได้ มหัศจรรย์กังหันลม ว่าวเล่นลม โมบาย
เริงลมกิจกรรม “หวานเย็นชื่นใจ” เด็กๆ ค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว เมื่อนำไป
แช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณหภูมิลด
ต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง

.กิจกรรม “ความลับของดิน” เด็กๆ ช่วยกันทดลองเพื่อพิสูจน์ว่าดินมีองค์ประกอบเป็นหินที่ผุพัง
สลายตัวซากพืชซากสัตว์ อากาศ และน้ำ ดังนั้น ส่วนที่เป็นของแข็งที่อยู่ในดินจึงมีขนาด
แตกต่างกัน เมื่อเทน้ำลงไป อากาศก็จะออกมาจากดินเป็นฟองให้เห็น และจะพบว่าอนุภาค
ที่มีขนาดใหญ่จะตกตะกอนลงสู่ก้นภาชนะ และอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่าก็จะค่อยๆ 
ตกลงมาเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกเมื่อการตกตะกอนสิ้นสุดลง จะมองเห็นดินเป็นชั้นๆ 
ส่วนซากพืชซากสัตว์ก็จะลอยอยู่บนผิวหน้าของน้ำ ทำให้เห็นองค์ประกอบของดินด้วย
 เป็นต้น

💥ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการ สสวท. กล่าวต่อไปว่า “ประโยชน์ที่ได้รับจากงานนี้คือ
ประสบการณ์การเรียนรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เด็กๆ 
ปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ การได้เข้าใจโลกในมุมกว้าง ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญในการเป็น
พื้นฐานที่จะต่อยอดการเรียนรู้ในระดับที่สูงยิ่งๆ ขึ้นไป”  
        

       

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สรุปบทความคณิตศาสตร์

                                       EAED2203การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย: สรุปบทความ

                                 👉👉 เรื่อง:บทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย👈👈

อ้างอิงมาจาก   http://supansa222.blogspot.com/2018/01/1.html?m=1

     ➤ คณิตศาสตร์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความคิด ทำให้มนุษย์คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน ตลอดจนมีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบเล่น และสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว การส่งเสริมให้เด็กในวัยนี้มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต

👀เด็กได้เรียนรู้อะไร

       ➤  มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์

💬ประโยชน์ที่ได้รับ

       ➤  ได้รู้จักคณิตศาสตร์สามารถคำนวณเลขได้ คิดเลขเป็น วัดขนาดความยาวสั้นของสิ่งของต่างๆได้ สามารถแก้ไขปัญหาชีวิตประจำวันในการซื้อของบวกราคาของว่าตัวเองซื้อในราคาเท่าไรเงินพอไหม คิดวิเคราะห์ได้ รูปจักรูปทรงต่าง ทรงกลม ทรงสามเหลื่ยม สี่เหลื่ยม

💢ดีอย่างไร

      ➤ เรียนแล้วสามารถไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี